Friday, March 20, 2009

บทความที่ kapook.com ก็เป็นอีกแห่งที่ไม่ถูกต้อง

เอกสารบทความที่ปรากฏบน Internet มีความคลาดเคลื่อนจากสากล  จึงมาขอนำเสนอแก้ไขดังนี้

ที่ผิด (บางส่วน) เช่น
  • e เอกสาร: รอบรู้เรื่องเมลามีน ซึ่งระบุว่า โดย รศ.ดร.เยาวมาลย์ ค้าเจริญ ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.  Link
  • บทความที่ tlcthai.com: สารเมลามีนคืออะไร?? แล้วนมเด็กมีสารเหล่านี้ได้อย่างไร?!?
    (link)  ซึ่งผิดในประเด็น สารเคมีคืออะไร (ผิดที่ ให้ข้อมูลขาดไป), งานวิจัยกับเมลามีนในช่วงที่ผ่านมา (ผิดที่ เอ่ยว่าการใส่เมลามีนในอาหารโค เป็นงานวิจัย, คำว่า ย่อยไ ด้ไม่สมบูรณ์ก็ผิด เพราะว่า เมลามีนไม่ถูกย่อย)  หัวข้อ ความเป็นพิษของเมลามีน (ผิดหลายประเด็น) (หมายเ หตุ: การนำรูปที่มีลิกสิทธิ์มาใช้ก็ผิดน๊ะครับ หากไม่ได้ขออนุญาต)
  • บทความที่ kapook.com หัวข้อ  สารเมลามีน มหันตภัยใกล้ตัว  
  • หัวข้อ '"เมลามีน" ถึงเวลาที่ต้องรู้จัก' ระบุว่า เมลามีน หมายถึง พลาสติก ซึ่งผิด เพราะว่า เมลามีนมีสองความหมาย   คือ สารเคมี และสารพลาสติก  เกิดความสับสน คือ ควรเป็นของ พลาสติกเมลามีน ก็นำเสนอเป็นของ สารเคมีเมลามีน  และที่สลับกัน
  • อีกทั้งยังระบุผิดว่า ฟอร์มาลดีไฮด์ เป็นองค์ประกอบของเมลามีน  เพราะที่ถูกต้องระบุว่า ฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) เป็นสารที่เกิดขึ้นในการผลิตพลาสติกเมลามีน
  • หัวข้อ  'พิษของสารเมลามีน'  ก็ผิด เพราะ ระบุว่า เมลามีนระเหยได้ มีพิษ เมื่อสูดเข้าสู่ร่างกาย  ซึ่งในความเป็นจริง ไม่เป็นเช่นนั้น   ผิดเพราะ สารเมลามีนไม่ระเหย ที่อุณหภูมิและความดันทั่วไป.   ยังระบุว่าเมลามีนขับออกไม่ได้ ทางไต  เพราะที่ถูกแล้ว ขับออกทางไต  โดยร่างการพยายามขับออกทางปัสสาวะ ผ่านทางไต ตลอดเวลา
เนื้อหาบน Internet ยังมีอีกมาก ในหลาย web site ที่ลอกกันมา หรือมาจากบทความที่ผิด  แต่ไม่สะดวก นำมาสรุปต่อไป

หากต้องการอ่านที่ถูก  อ่านได้ที่ website MelamineCyanuricAcid หรือที่ blog นี้  โดยอ่านรายละเอียดที่ .pdf.

เมลามีน: วิเคราะห์ (Analysis): Link

ข้อคิดบางประการต่อเอกสาร ระบุว่า โ ดย รศ.ดร.เยาวมาลย์ ค้าเจริญ ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


ข้อคิดบางประการต่อเอกสาร ระบุว่า โ ดย รศ.ดร.เยาวมาลย์ ค้าเจริญ ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  1. เอกสารระบุว่า เมลามีน คือ พลาสติก
    ไม่ถูกครับ เพราะเมลามีนมีความหมายทั้ง พลาสติก และไม่ใช่  ซึ่งคือเนื้อสารที่นำไปทำเป็นพลาสติก ชนิดเมลามีน
  2. เ อกสารใช้คำว่า "ยาฆ่าแมลง"
    ไม่เหมาะครับ ที่ถูกต้องเรียกว่า "สารฆ่าแมลง"
  3. เอกสาำรในหัวข้อ "ความเป็นพิษของเมลามีน"
    ไม่ถูกเลยครับ  ควรต้องนำข้อมูลที่ยอมรับระดับสากล   อ่านของผมได้ที่เป็น .pdf
  4. (มีเวลาจะมานำเสนอ)

เมลามีน: คำกล่าวไม่ถูกต้อง

เนื่องจากได้เห็นเมลล์ส่งต่อเกี่ยวกับ เมลามีน ที่ไม่จริง จึงขอนำเสนอ ดังนี้
เพราะไม่ถูกต้อง   เช่น 

  • มันจะสะสมในตัวคน ไม่ใช่ปัญหากินมากกินน้อย แต่กินไม่ได้เลยแม้แต่น้อย
    คำกล่าวนี้ผิด  ความเห็นผมคือ รับเข้าสู่ร่างกาย โดยการกินได้ระดับหนึ่ง ซึ่งมากกว่าที่พบมีอยู่ในผลิตภัณฑ์นมแน่นอน   และ หากเมลามีนเข้าสู่ร่างกาย ก็ถูกขับออกตลอดเวลา ทางปัสสาวะ  ดังนั้น หากหยุดการได้รับ  เมลามีนก็จะออกจากร่างกาย จนหมด  และเราปลอดภัย
  • กินน้อยจะทำให้เป็นนิ่วแบบช้าๆ ไตเสื่อม
    คำกล่าวนี้ผิด  ความเห็นผมคือ ความเห็นคือ หากกินน้อย ก็ไม่ได้รับผลแอน แต่ปัญหาหลักคือ ไม่ใช่แต่เพียง เมลามีน  แต่ analog ของมัน ต่างหาก ที่เป็นปัญหาใหญ่  กล่าวคือ หากมีทั้งสองคือ เมลามีน และ analog ของมัน (ที่พบบ่อยคือ cyanuric acid) ล่ะก็ ผลร้ายเสริมกัน   เรื่องแย่คือ ฝ่ายราชการไทย และอีกหลายประเทศไม่ตรวจระดับ analog ตรวจแต่ เมลามีน (melamine) นั่นคือ ข้อคิดใหญ่ ที่อาจน่ากลัว   เรื่องดีคือ ป่านนี้คงไม่มีเมลามีนในผลิตภัณฑ์นม หรืออาหาสัตว์แล้ว  

Monday, March 16, 2009

Link แนะนำ

Link แนะนำ:

Melamine and Cyanuric Acid in Milk Product

จากการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเมลามีน  จึงนำมาเสนอแด่ผู้สนใจ  โดยมีจุดเด่นของข้อมูลดังนี้
  • ถูกต้องเชื่อถือได้  เพราะนำข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้โดยสากล เช่น
  • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
  • Canadian Food Inspection Agency (CFIA)
  • Centers for Disease Control and Prevention (CDC)
  • European Food Safety Authority (EFSA)
  • USFDA Foreign Agricultural Service (GAIN Report)
  • U.S. Food and Drug Administration (U.S. FDA)
  • World Health Orgnization (WHO)
  • Reuters



  • เรียบเรียง ให้อ่านง่าย เหมาะสำหรับประชาชน, นักเรียน และนศ.
  • มีเฉพาะที่เป็นเรื่องจริง และนำเสนอบนพื้นฐานความจริง ตามแนววิทยาศาสตร์


ตัวอย่างหัวข้อ และเนื้อหาในบางหัวข้อ:

  • คำนำ
  • เหตุการณ์
  • เรียกคืนสินค้า (Product Recall)
  • เมลามีนคืออะไร? (What is Melamine?)
  • กรดไซอานูริค และสารอื่นในกลุ่มเมลามีน
  • โดยปกติ ถูกใช้เพื่อประโยชน์ใด? (In general, What is the Use?)
  • เมลามีนอันตรายอย่างไร? (How Dangerous is Melamine?)
  • ระดับอันตราย?
  • เพราะเหตุใด จึงปนเปื้อนในอาหาร?

    เมลามีนเป็นสารอันตราย แต่มีการนำมาใส่ในอาหารสองประเภทคือ นมผง ซึ่งปนเปื้อนไปยังผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำนมเป็นองค์ประกอบอีกหลายชนิด และโปรตีนจากข้าวสาลี และข้าวเจ้า ซึ่งปนเปื้อนไปยังอาหารสัตว์ ทั้งสำหรับสัตว์เลี้ยงบ้าน และสัตว์เลี้ยงฟาร์ม    ทั้งสองเกิดขึ้นในประเทศจีน.  

    โรงงานผลิตเมลามีนมีต้นทุนไม่สูง และระบบการผลิตไม่ยุ่งยาก ให้เมลามีนที่มีระดับธาตุไนโตรเจนสูง

    ผู้ผลิตสินค้าจีน ต้องการแข่งขันเชิงธุรกิจ ด้านราคา และเพื่อกำไร จึงใส่เมลามีนลงในผลิตภัณฑ์  เพราะบังเอิญอย่างมาก ที่วิธีวิเคราะห์ทั่วไป[1] วัดค่าเมลามีนรวมเป็นค่าโปรตีน (วิธีวิเคราะห์ที่ใช้ทั่วไปไม่ดีพอ คือมองเห็นเมลามีนเป็นโปรตีน)   ผลคือ ค่าโปรตีนที่วัดได้สูงเกินกว่าความเป็นจริง จึงเติมน้ำเพิ่มได้, ต้นทุนลดลงมาก, และโอกาสทางธุรกิจสูงขึ้น).    ผลิตภัณฑ์นมนี้ จึงผ่านการตรวจสอบระดับโปรตีน  ทั้งที่มีระดับโปรตีนต่ำ.   ผลิตภัณฑ์นมจึงไม่เพียงมีคุณภาพต่ำ อีกทั้งยังอันตรายเพราะมีเมลามีน อีกด้วย(WHO: Questions and Answers on melamine).   การเติมเมลามีนนี้ ถือว่าผิดมาตรฐาน และหลอกลวง.

    Sanlu Co[2]. เป็นบริษัทผลิตนมผง หรือนมข้น ทั้งเพื่อส่งออก และบริโภคในประเทศ ที่มีสาขาใหญ่อยู่ที่ Shijiazhuang / Shijiangzhuang ซึ่งเป็นเมืองหลักของ จังหวัด Heibei ในประเทศจีน.   สหกรณ์ New Zealand’s Fonterra milk cooperative ได้ซื้อหุ้น 43% ของ San-Lu  ซึ่งเป็นบริษัทผลิตนมแห่งแรกที่ยอมรับต่อสาธารณว่ามีเมลามีนอยู่ในผลิตภัณฑ์  โดยให้เหตุผล เหมือนหลายบริษัทว่ามิได้ตระหนักเรื่องเมลามีนในผลิตภัณฑ์ เพราะได้รับในรูปของ ผงโปรตีน.

              การใส่ เมลามีนในอาหาร ไม่เป็นที่ยอมรับโดย คณะกรรมาธิการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศหรือที่เรียก ‘Codex Alimentarius Commission (CAC),’ และโดยองค์กรของประเทศใด.

    (CAC เป็นองค์กรของ สหประชาชาติ (United Nations)’ ที่ก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือของ องค์กรอาหารและเกษตร (Food and Agriculture Organization หรือ FAO) และองค์กรอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ในช่วงปี พ.ศ. 2504-2506 โดยในปัจจุบันมีสมาชิกรวม 176 ประเทศ.

    นอกจากนมผงที่มีเมลามีนปนเปื้อนแล้ว  อาหารที่พบปนเปื้อนด้วยเมลามีน คือ โยเกิร์ต, บิสกิต/คุ้กกี้, ขนมหวานอื่น และกาแฟพร้อมดื่ม (WHO, 25 October 2008 และ WHO: Melamine-contaminated powdered infant formula in China, 2008).   นอกจากนั้นยังมีการปนเปื้อนเมลามีนในอาหาร ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์นม  คืออาหารสัตว์ทั้งสำหรับสัตว์เลี้ยงบ้าน และปศุสัตว์.

    นอกจากเมลามีนมีในผลิตภัณฑ์นมแล้ว  ยังพบปนเปื้อนในอาหารสัตว์ ซึ่งเกิดด้วยเหตุผลเดียวกัน คือต้องการแข่งขันเชิงธุรกิจ  ด้วยการลดต้นทุนสินค้า  โดยใส่เมลามีนในสารสกัดโปรตีนเข้มข้นของข้าวสาลี และข้าวเจ้า  ซึ่งเป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงบ้าน และสัตว์เลี้ยงฟาร์ม (ปศุสัตว์).   วัตถุดิบนี้ผลิตขึ้นในจีน และส่งออกไปยังบางประเทศ  ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา.

    กรณีอาหารสัตว์เลี้ยงบ้าน (pet food), ในปี 2550 พบเมลามีนในสารสกัดโปรตีนเข้มข้นของข้าวสารลี และข้าวเจ้า (wheat gluten and rice protein concentrate)’ ซึ่งเชื่อว่าในความจริงเป็น แป้งสาลีผสมกับเมลามีน  ที่นำเข้าจากจีนสู่สหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์สำหรับสุนัขและแมว.   เมลามีนในอาหารสัตว์นี้ทำให้สุนัขและแมวจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากไตวาย (kidney failure).’  

    โปรตีน gluten ที่ปนเปื้อนด้วยเมลามีนนั้น มีสัดส่วนของ melamine compound ดังนี้  melamine 8.4%, cyanuric acid 5.3%, ammelide 2.3%, ammeline 1.7%, และ ทั้ง ureidomelamine และ methylmelamine <1% (Dobson et al. 2008).

    กรณีอาหารปศุสัตว์ (feed), หลังจาก การตายของสุนัขและแมวในปี 2550  หน่วยงานของสหรัฐอเมริกาได้เริ่มต้นตรวจสอบหาสาเหตุ และได้พบการปนเปื้อนของเมลามีน  ซึ่งนำไปสู่ปัญหาเมลามีนในทั่วโลก  โดยเริ่มต้นพบว่า ในปี 2550 ‘สารสกัดโปรตีนเข้มข้นของข้าว และข้าวสาลี (wheat gluten and rice protein concentrate)’ ที่ผลิตขึ้นในจีน ถูกนำไปเป็นส่วนผสมเพื่อผลิตอาหารสัตว์ สำหรับปศุสัตว์ ทำให้เมลามีนเข้าสู่สัตว์ โดยผลสุดท้ายมีเมลามีนอยู่ใน เนื้อหมู, เนื้อไก่, ปลาเลี้ยง และไข่.   อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยของ U.S. FDA และ USDA และกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ในองค์กรอื่นมีความเห็นร่วมกันว่า ระดับความเข้มข้นของเมลามีนในวัตถุดิบอาหารดังกล่าว ไม่ก่อให้เกิดอันตรายทางสุขภาพต่อผู้บริโภค  (U.S. FDA, 25 May 2007 และ U.S. FDA, 1 August 2007)



    [1] วิธีวิเคราะห์โปรตีน ที่ใช้ทั่วไปคือ Kjeldahl และ Dumas method ไม่สามารถแยกว่าเมลามีนไม่ใช่โปรตีน.

    [2] องค์กร และสื่อ ใช้ชื่อ ไม่ตรงกัน มีทั้ง San – Lu Co., San – Lu Groups, San – Lu, Sanlu Group และ Sanlu.


  • แหล่งปนเปื้อนในสายการผลิตนมผง
  • อย. ประเทศไทย และค่าระดับเมลามีนในอาหาร
  • อาหารที่ อย. ประเทศไทย ระบุมีเมลามีนเกินมาตรฐาน
  • กลไกเมื่อเข้าสู่ร่างกาย? (Mechanism After Entering Body System?)
  • เมลามีนอยู่ในร่างกายนานเท่าใด? 
  • เมลามีนและการเกิดนิ่วในไต (Melamine and the Formation of Kidney Stone)
  • เหตุใดเด็กจึงป่วยด้วยเมลามีนมากกว่า?
  • อาการ และสัญญาณแสดงว่าได้รับพิษเมลามีน
    • ระดับอาการป่วยขึ้นกับ ปริมาณเมลามีนที่รับเป็นหลัก  ยิ่งมีปริมาณเมลามีนในร่างกายมาก  ยิ่งมีระดับอาการป่วยที่รุนแรงกว่า. WHO (15 October 2008) แจ้งข้อสังเกต สำหรับทารกที่อาจได้รับพิษของเมลามีนว่า เด็กทารกอาจมีอาการ ดังนี้
    • ความดันเลือดสูง (high blood pressure), มือ, เท้า หรือหน้าบวม (edema)
    • ไม่สบายตัว หรือร้องไห้โดยไม่ทราบสาเหตุ  โดยเฉพาะขณะปัสสาวะ
    • ปัสสาวะติดขัด, ปัสสาวะน้อย (oliguria), หรือไม่ปัสสาวะ (anuria)
    • เจ็บเมื่อเคาะบริเวณไต
    • ปัสสาวะมีเลือด (สังเกตด้วยตาเปล่า หรือใช้กล้องจุลทรรศน์ส่อง), มีผลึก หรือตะกอ
    • ปวดท้อง, อาเจียน
    • เจ็บ/ปวด เมื่อถูกกระทบบริเวณไต
    • มีไข้ เนื่องจากไตติดเชื้อ (kidney infection)
    • มีก้อนนิ่วในปัสสาวะ (เด็กชาย มักแสดงอาการปัสสาวะยาก)
    • ไตวายเฉียบพลัน
    • ผู้ เชี่ยวชาญ WHO เชื่อว่าอาการไข้ ที่ไม่ทราบสาเหตุ ก็เป็นอีกอาการหนึ่งที่ใช้บ่งชี้ได้  เพราะอาจเนื่องจาก ‘การติดเชื้อในระบบปัสสาวะ (urinary tract infection)’หรือ ‘การติดเชื้อในระบบเลือดเนื่องจากแบคทีเรีย (bacteremia)’ หลังจากมีอาการปัสสาวะน้อย หรือไม่มี.
  • วิธีที่แพทย์รักษานิ่วในไต และไตวาย?
  • “การก่อมะเร็ง (Carcinogenicity)
         International Agency for Research on Cancer (IARC) คือหน่วยงานหนึ่งของ WHO ซึ่งก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 ที่นำโดยความคิดเห็นของประเทศฝรั่งเศส  โดยมีสมาชิกหลักคือ เยอรมันนี, ฝรั่งเศส, อิตาลี, สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา  ที่ร่วมกันสร้างสำนักงานใหญ่ขึ้นที่ Lyon ในประเทศฝรั่งเศส.   IARC (http://www.iarc.fr) เน้นงานวิจัยเพื่อรักษาโรคมะเร็ง  โดยหนึ่งในวัตถุประสงค์หลักคือ วิธีจำแนกหาสาเหตุของโรคมะเร็ง เป็นหลัก เพื่อให้การป้องกันนำมาใช้ได้ผล.   ทั้งนี้ ไม่มุ่งแม้แต่งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้ป่วย.

         WHO (5 October 2008) แจ้งว่า IARC ได้สรุปว่า ไม่มีหลักฐานเพียงพอในทางวิทยาศาสตร์ ที่ทดสอบกับสัตว์ทดลอง ที่สรุปว่าเมลามีนสามารถทำให้เกิด ‘มะเร็ง’ ในกรณีที่เมลามีนสร้างนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ   จึงไม่มีหลักฐานเพียงพอสรุปว่าเมลามีนทำให้เกิดมะเร็งในมนุษย์  (แม้ว่าบางรายงานการวิจัยชี้ว่า การที่สัตว์ได้รับเมลามีนสูง และต่อเนื่องนานนับหลายปี มีแนวโน้มว่าทำให้เกิดมะเร็งก็ตาม) 
  • อาหารที่มีความเสี่ยง
         อาหารที่มีความเสี่ยงเนื่องจากเมลามีนมี 3 ประเภทหลักคือ ผลิตภัณฑ์นม, ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์, และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ฟาร์ม.

    1) ผลิตภัณฑ์นม และที่เกี่ยวข้อง เช่น นมผง (infant milk powder), น้ำนม, นมข้น, นมเปรี้ยว, คุ้กกี้/บิสกิต, ช็อคโคแล็ต, ขนมที่มีนมเป็นส่วนผสม, ไอศครีม, ลูกอม ที่มีนมเป็นส่วนผสม, ชีส, ชานม, กาแฟพร้อมดื่ม, นมผงพร่องมันเนย, หางนม, ผงแลคโทซ และเคซีน

    2) ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ ทั้งสำหรับสัตว์เลี้ยงบ้าน และสัตว์ฟาร์ม เช่น สารสกัดโปรตีนเข้มข้น จากข้าวเจ้า หรือข้าวสาลี ซึ่งใช้เป็นส่วนผสมสำหรับอาหารสัตว์สำเร็จรูป เพื่อสัตว์เลี้ยงบ้าน และปศุสัตว์

    3) ผลิตภัณฑ์ฟาร์ม เช่น ไข่, เนื้อไก่, ปลา และเนื้ออื่น เพราะกินอาหารสัตว์ที่ปนเปื้อนด้วย
    เมลามีน
  • ระดับการปนเปื้อน (Contamination levels) 
  • พิษวิทยาของเมลามีน (Toxicology of Melamine)
  • ข้อความเห็นจาก U.S. FDA และเมลามีน
  • ผลร่วม: เมลามีน และกรดไซอานูริค
  • เหตุใดทารกรับผลมากสุด?
  • เลือกสินค้าอย่างไร ให้ปลอดเมลามีน?
         สินค้าที่ดีต้องผ่านการตรวจสอบมาตรฐาน.   หากเป็นด้านอาหารและยา  หน่วยงาน อย. ของกระทรวงสาธารณสุข เป็นองค์กรที่ดูแล รับผิดชอบ ควบคุม กำกับ ตรวจสอบ คุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านอาหารและยาให้ถูกต้องตามกฎหมาย.   สินค้าที่ปลอดภัยจากเมลามีน และสารอันตรายอื่น ควรมีลักษณะดังนี้
    • มีตรา อย. ที่ขึ้นทะเบียนถูกต้อง  แสดงว่ามิได้ลักลอบเข้าประเทศ  โดยตรวจสอบว่าเป็นทะเบียนจริงหรือไม่ โดยโทรไปที่ สายด่วน อย. 1556
    • สะอาด
    • ภาชนะปิดสนิทสมบูรณ์  ไม่มีรอยรั่ว หรือฉีกขาด (ผลิตภัณฑ์ที่แบ่งขาย แล้วปิดสนิทก็ถือว่าผิดมาตรฐาน)
    • ต้องแสดงฉลากสินค้าที่บ่งชี้ให้เข้าใจได้ว่า สินค้านั้นเป็นสินค้าประเภทใด  และสินค้านั้นคืออะไร
    • หากเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ  ต้องแสดงประเทศที่ผลิต
    • ต้องแสดงเครื่องหมายการค้าของสินค้า  ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ของผู้ผลิตเพื่อขายในประเทศไทย
    • ต้องแสดงชื่อ หรือเครื่องหมายการค้า ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ของผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
    • ต้องแสดงสถานที่ตั้งของผู้ผลิตเพื่อขาย หรือของผู้สั่งหรือผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
    • ต้อง แสดงขนาดหรือมิติ หรือปริมาณ หรือปริมาตร หรือน้ำหนักของสินค้านั้นแล้วแต่กรณี สำหรับหน่วยที่ใช้จะใช้ชื่อเต็มหรือชื่อย่อ หรือสัญลักษณ์แทนก็ได้
    • ต้องแสดงวิธีใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าสินค้านั้นใช้เพื่อสิ่งใด
    • ต้องแสดงข้อแนะนำในการใช้หรือห้ามใช้ เพื่อความถูกต้องในการที่ให้ประโยชน์แก่ผู้บริโภค
    • ต้อง แสดงเกี่ยวกับวันเดือนปี: (1) วันเดือนปีที่ผลิต หรือ (2) วันเดือนปีที่หมดอายุการใช้ หรือ(3) วันเดือนปีที่ควรใช้ก่อน  เพื่อให้เข้าใจในประโยชน์ของคุณภาพ หรือคุณสมบัติของสินค้านั้น (ถ้ามี)

  • หากมีข้อสงสัย สอบถาม  อย. มีช่องทางให้ติดต่อได้ดังนี้คือ

    1) โทรศัพท์สายด่วน อย. 1556
    2) โทรศัพท์ 02-590-7354 > 5
    3) โทรสาร 02-591-8472
    4) อีเมล์: complain@fda.moph.go.th
    5) ตู้ปณ 52 ปณจ. นนทบุรี 11000
    6) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (ทุกจังหวัด)

  • ลูกและตัวเราควรรับการตรวจว่ารับเมลามีน?
  • อันตรายต่อจิตใจ มากกว่าร่างกาย?
  • รวมประเด็นทั่วไป
    • ก่อนก รณี pet food recalls ในปี 2007, ไม่มีการตรวจ melamine ในอาหาร    มีแต่ที่ตรวจเมื่อเกี่ยวข้องกับ plastic safety หรือ insecticide residue
    • ยังไม่มีหลักฐานว่า cyanuric acid ถูกใส่โดยตั้งใจ หรือเป็น by-product ของการเตรียม melamine (U.S. FDA, 1 August 2007).
    • เรื่องเล่า หรือความเห็นที่ไม่เป็นเรื่องจริง
      • ความ เห็นที่ว่า ไม่ควรใช้ภาชนะเมลามีนเกิน 2 ปีนั้น  น่าจะเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะไม่มีเรื่องนี้จากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น FDA และ WHO.
      • เรื่อง เล่าที่พบเมลามีนในน้ำปลา:  ไม่น่าเป็นเรื่องที่ควรกังวล  เพราะหากมีก็มีในปริมาณที่ต่ำมาก  และที่ได้เห็นตามข่าว ก็มิได้แจ้งระดับปริมาณเมลามีนที่พบ  และวิเคราะห์โดยองค์กรใด  จึงเชื่อถือไม่ได้.   (ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการยอมรับของ อย.มีแจ้งใน web siteของ อย.) 
============================

อ่านเรื่องเต็ม  คลิ๊กที่นี่ (692 KB, *.pdf)